การปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในปี พ.ศ. 2562
ทำให้เกิดการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมพร้อมด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน (Program Management Unit: PMU) 3 หน่วยใหม่ขึ้นในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการอนุมัติของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประกอบด้วย
1. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
2. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
3. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อให้หน่วยบริหารและจัดการทุนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางด้วยการพัฒนาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ปัจจุบันหน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้านทั้ง 3 หน่วยอยู่ระหว่างกระบวนการเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งเป็นองค์กรมหาชน
หน่วยบริหารและจัดการทุนเฉพาะด้าน จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 ตามข้อบังคับคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (กอวช) ว่าด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุน พ.ศ. 2562 โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้วยการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ การพัฒนาชุมชน หรือท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหม่ธุรกิจขนาดเล็ก วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคมในระดับพื้นที่ด้วยการบริหารและจัดการแผนงานวิจัยที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว) และแหล่งทุนอื่น ๆ ของประเทศ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และข้อผูกพันการรับทุนอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์สำคัญ (Objectives and Key Results : OKRs) ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2565
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นหน่วยงานที่สำคัญในการดูแลความผาสุกของประชาชน โดยยึดหลักการกระจายอำนาจและประชาธิปไตย อปท. ช่วยเสริมสร้างการมีส่วนรวมของประชาชนในการปกครองและเพิ่มความรับผิดชอบการ
กระจายอำนาจยังช่วยให้ อปท. แก้ปัญหาท้องถิ่นได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพตามความต้องการของประชาชนแต่ละพื้นที่
อปท. มีจำนวนทั้งหมด 7,849 แห่ง
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จำนวน 76 แห่ง
- เทศบาล จำนวน 2,471 แห่ง
- องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จำนวน 5,300 แห่ง
- อปท. รูปแบบพิเศษ จำนวน 2 แห่ง